พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

ประวัติความเป็นมา ก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี บรรพบุรุษไทยถูกขอมรุกราน จึงถอยร่นจากเวียงไชย ปราการ จ.เชียงราย มารวมพลตั้งมั่นที่เมืองบางยาง คือ อ.นครไทย ในปัจจุบัน โดยมี พ่อขุนบางกลางหาว เป็นผู้นำ โดยรวบรวมไพร่พลจนแข็งแกร่ง จึงร่วมกับพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองลาด(เมืองเพชรบูรณ์) ยกทัพไปตีเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย จนได้ชัยชนะจากขอม จึงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” ครองเมืองสุโขทัย เป็นเอกราชประมาณ พ.ศ.1763 ปรากฎหลักฐานที่สำคัญ คือ วัดกลางศรีพุทธาราม ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการ อ.นครไทย ประมาณ 500 เมตร มีต้นจำปาขาวใหญ่อยู่ต้นหนึ่งมีความเชื่อกันว่า มีอายุมานานพร้อมกับพ่อขุนบางกลางหาว เริ่มสร้างเมืองบางยาง นั่นเอง ซึ่งพิสูจน์แล้วว่า มีอายุประมาณ 700 ปีเศษ หลักฐานที่สำคัญว่าเมืองบางยางได้เปลี่ยนชื่อเป็น “นครไทย” มีปรากฎอยู่ ในพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐ ว่าศักราช839ระกา(พ.ศ.2020) แรกตั้งเมือง นครไทย พ.ศ.2020 นี้เป็นระยะที่อยู่ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นนักอักษรศาสตร์และนักรัฐศาสตร์ ซึ่งได้จัดการปกครองบริเวณ หัวเมืองต่างๆ นอกเมืองหลวงให้เป็นระเบียบแบบแผนที่แน่นอน เพื่อให้ง่ายแก่การปกครองควบคุม ตรวจตรา จึงได้ยกฐานะเมืองบางยาง เป็นเมืองที่มีเจ้าเมืองปกครอง แล้วเปลี่ยน ชื่อใหม่ว่า “เมืองนครไทย” เช่นเดียวกับเมืองอื่นๆ ซึ่งพระองค์ทรงเปลี่ยนมาแล้ว เช่นเมืองสองแคว เป็นเมืองพิษณุโลก เมืองสระหลวงเป็นเมืองพระจิตร และเมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองอุตรดิตถ์ เป็นต้น นับแต่ พ.ศ. 2020 เป็นต้นมา เมืองนครไทยก็มีฐานะเป็นเมืองที่มี เจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการเมืองปกครองเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ลด ฐานะ เมืองนครไทยมาเป็น “อำเภอเมืองนครไทย” แล้วแต่งตั้งนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง นายอำเภอคนแรก คือ หลวงพิทักษ์กิจบุรเทศ (เป๋า บุญรัตนพันธ์) และเป็นอำเภอนครไทย เมื่อ พ.ศ.2497 เพื่อให้เหมาะสมกับการเรียกชื่อตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน ที่มา : http://www.phitsanulok.go.th/nakonthai1.htm

จำปาขาว ประวัติจำปาขาว อำเภอนครไทย เมื่อสมัยกว่า 700 ปีมาแล้ว เป็นที่ตั้งของเมืองบางยาง ซึ่งพ่อขุนบางกลางหาว ได้รวบรวมซ่องสุมไพร่พลแล้ว ร่วมกับ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองลาด(เพชรบูรณ์) ยกทัพไปตีเมือง ศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัย จากขอม แล้วสถาปนาเป็น “พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์ “ราชวงศ์พระร่วง”แห่งอาณาจักรสุโขทัย ขึ้น ทุกวันนี้ ที่วัดกลาง ตำบลนครไทย อำเภอนครไทย ห่างจาก ที่ว่าการอำเภอนครไทย มีต้นจำปาขาว ซึ่งชาวนครไทย เชื่อกันว่ามีอายุกว่า 700 ปี มีตำนานว่าเป็นต้นไม้ ที่พ่อขุนบางกลางหาว ตั้งสัตยาธิฐานว่า ถ้าตีเมือง สุโขทัยสำเร็จ ขอให้ต้นจำปาขาวไม่ตาย และให้ออกดอก เป็นสีขาว ซึ่งก็เป็นตามดั่งคำอธิฐาน นอกจากนี้ สมเด็จกรมพระดำรงค์ราชานุภาพ ได้ทรงบันทึกเรื่องราวของต้นจำปาขาวว่า”พ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยาง ทรงปลูกไว้เป็นอนุสรณ์ คู่เมืองของ เมืองนครบางยาง ซึ่งได้ปลูกไว้ที่วัดๆ หนึ่งทางทิศตะวันตกของพระอุโบสถ วัดดังกล่าวนี้ ปัจจุบันก็คือ “วัดกลางศรีพุทธาราม” ดังนั้น จึงประมาณได้ว่า ต้นจำปาขาวปลูกก่อนปี พ.ศ. 1806 หม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัยดิศกุล พระธิดาของสมเด็จกรมพระดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จอำเภอนครไทย เมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2499 ได้ตรัสถามว่า “ต้นจำปาขาว ที่อยู่ทาง ทิศตะวันตก ของพระอุโบสถวัดกลาง ห่าง 7 วา นั้นอยู่ไหม” และได้เสด็จทอดพระเนตรต้นจำปาขาว

ลักษณะต้นจำปาขาว ต้นจำปาขาว มีความแตกต่างจากต้นจำปาอื่น ๆ คือ ต้นจำปาทั่วไป จะมีดอกเป็นสีเหลือง แต่จำปาต้นนี้ ออกดอกเป็นสีขาวนวล มีกลิ่นหอมฟุ้ง ทั่วบริเวณ วัดและถ้านำกล้า จำปาขาว ไปปลูกที่อื่นก็จะมีดอกเป็นสีเหลืองเหมือนดอกจำปา ทั่วไป หรือจะ กลายพันธุ์ และเท่าที่ทราบ จากเจ้าคณะตำบลนครไทยหรือเจ้าอาวาส วัดกลางศรีพุทธารามว่า ต้นจำปาขาวนั้น ชอบแสงแดด มีลักษณะทั้งต้นและใบจะมีกลิ่นหอมจัด และใบจะมีขน ส่วนจำปา ทั่วไป จะมีกลิ่นดอก สีดอกจำปาบางพันธุ์ จะมีสีเหลืองนวล ทำให้ ้บางคนคิดว่า เป็นจำปาขาว ต้นจำปาขาวได้หน่วยงาน หลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ ได้ทำการทดลองขยายพันธุ์ ในวิธี การต่าง ๆ เช่น เพาะเนื้อเยื่อ ขยายพันธุ์แต่ไม่ได้ ส่วนทางวัดกลาง ศรีพุทธารามและ สำนักงาน เกษตร อำเภอนครไทย ได้เพาะต้นจำปาขาว ด้วยเมล็ดได้ผลเพียง ประมาณร้อยละ 10-20 เท่านั้น ในการเพาะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน ถึงจะงอกและต้อง เลี้ยงไว้ประมาณ 1 ปี จึงจะแยกต้นออก มาปลูกได้ ในการปลูกใช้ดินร่วนปนทราย เพื่อเลี้ยงราก ให้งอกออกโดยง่าย ต้องใช้เวลาปลูก ประมาณ 3 ปี โดยประมาณ ลำต้นจะสูงประมาณ 10 เมตร และถึงจะออกดอก สำหรับต้นลูก ที่ทางวัดได้เพาะและ ปลูกไว้บริเวณกุฏิพระมีลักษณะกลายพันธุ์ คือ ดอกจะเล็กกว่าต้นแม่ มีต้นที่อยู่ติดกับต้นแม่เท่านั้น ที่มีลักษณะเหมือนกับต้นแม่ ส่วนต้น จำปาขาว ที่นำไปปลูกที่อื่น ยังไม่ได้ข่าวว่า มีดอก เช่น ที่จังหวัด ระยองยังไม่มีดอก ต้นจำปาขาว หนอนชอบเจาะกิ่ง ต้องตัดออก โดยไม่ใช้ยา สารเคมี และลักษณะพิเศษ ของต้นจำปาขาว อีกอย่างหนึ่งไม่ชอบสิ่งสกปรก เช่น ปุ๋ยหมัก มูลสัตว์ เป็นต้น

การดูแล รักษา และอนุรักษ์ ต้นจำปาขาว ปัจจุบัน ต้นจำปาขาวที่วัดกลางศรีพุทธาราม มีขนาดใหญ่ ขนาดลำต้น วัดโดยรอบประมาณ 3 เมตรเศษ สูงประมาณ 9 – 10 เมตร แต่เนื่องจากลำต้นบางส่วนเป็นโพรง ผุกร่อน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 เป็นต้นมา และอำเภอนครไทย ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์ต้นจำปาขาว วัดกลางศรีพุทธาราม อำเภอนครไทยขึ้น เพื่อให้มีหน้าที่ดูแลรักษา และอนุรักษ์ขยายพันธุ์ต้นจำปาขาว ปรับปรุง ดูแล จัดทำรั้วล้อมรอบ สถานที่บริเวณต้นจำปาขาว วัดกลางศรีพุทธาราม ให้ดูสวยงาม และป้องกันมิให้คน และสัตว์ เข้าไปทำความเสียหายกับต้นจำปาขาว, ศึกษา หาวิธีการ และดูแล บำรุงรักษา โพรงของต้น จำปาขาว ให้มีความเจริญงอกงาม ยั่งยืนต่อไป ตลอดจนทำการศึกษา และขยายพันธุ์ต้นจำปาขาว ขณะนี้ยังปรากฎต้นจำปาขาวอยู่ ด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนบางกลางหาว ที่วัดกลางศรีพุทธาราม แต่อายุมากและลำต้นผุกร่อน ทรุดโทรม เพราะแก่ต้น จังหวัดพิษณุโลก จึงให้อำเภอนครไทยแต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์ต้นจำปาขาว วัดกลางศรีพุทธารามขึ้น ตามคำสั่งที่ 583/2543 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2542 เพื่อบำรุง ดูแล รักษา อนุรักษ์ และขยายพันธุ์ต้นจำปาขาว ตามข้อแนะนำ ของส่วนวนวัฒนวิจัย สำนักวิชาการ กรมป่าไม้ แล้วรายงานผลการดูแล รักษาให้จังหวัดทราบ ทุก ๆ ระยะ 2 เดือน

รวบรวมข้อมูลโดย ศักดิ์นิคม ขุนกำแหง ฝ่ายข้อมูลฯสำนักงานจังหวัดพิษณุโลก 1 ธันวาคม พ.ศ.2543