ประเพณีปักธงชัย

 ประเพณีปักธงชัย เป็นประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญชองอำเภอนครไทยประเพณีหนึ่งที่ได้ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากชาวอำเภอนครไทยส่วนใหญ่มีความเชื่อ และยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นอย่างมาก ประเพณีปักธงชัยเป็นประเพณีที่ชาวนครไทยได้จัดทำขึ้น ในวันที่ 14 -15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมของชุมชน ชาวนครไทยในอดีตที่ประกอบด้วย ชาวบ้านวัดหัวร้อง บ้านในเมือง บ้านวัดเหนือ บ้านหนองลานและหมู่บ้านใกล้เคียงจะนำธงที่ชาวบ้านร่วมกันทอไปปักที่เขาช้างล้วง ซึ่งเป็นเทือกเขาที่ทอดตัวขนานไปกับถนนสายนครไทย – ชาติตระการ ห่างจากตัวอำเภอนครไทยไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นประจำทุกปี โดยชาวนครไทยส่วนใหญ่ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการนำธงไปปักบนยอดเขาช้างล้วงและความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีปักธง ที่พอสรุปได้ดังนี้

           1. เชื่อว่าการปักธงจะทำให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข กินดีอยู่ดี โดยมีความเชื่อว่าถ้าปีใดไม่ไปปักจะทำให้เกิดภัยพิบัติหรือเพทภัยต่างๆ ที่ทำให้ชาวบ้านเกิดความเดือดร้อนหรือเสียชีวิตได้ เนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น นาคราชจะมาล้างบ้านล้างเมือง , ยักษ์จะมากินคน หรือช้างจะมากินข้าวที่ชาวบ้าน ทำการเพาะปลูก จากคำบอกเล่า ของพระครูประพัฒน์ธรรมคุณ เจ้าคณะอำเภอนครไทย และเจ้าอาวาสวัดเหนือ ได้กล่าวว่า ชาวบ้านได้ติดตามช้างไป พบว่ารอยเท้าช้างจะหายไปบริเวณเขาช้างล้วงทุกปี เป็นต้น ความเชื่อในเรื่องนี้เป็นที่ยอมรับและกล่าวถึงอยู่เสมอในหมู่ชาวนครไทย เพราะชาวบ้านหยิบยกเรื่องราว ที่ปีหนึ่งชาวนครไทยไม่ได้ไปปักธง ในปีนั้นชาวบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านต่างๆ เสียชีวิตไปหลายคน ตั้งแต่บ้านวัดเหนือ จนถึงหัวร้อง ในช่วงเวลาเดียวกัน ในปีนั้นชาวบ้านต้องขึ้นไปปักธงภายหลัง

          2. ปักธงเพื่อระลึกถึงพ่อขุนบางกลางหาว เมื่ออพยพมาอยู่ที่เมืองนครไทย ( บางยาง ) ครั้งแรก ได้เกิดการสู้รบกับพวกเจ้าของถิ่นเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ มีการต่อสู้รุกไล่กัน จนถึงเทือกเขาช้างล้วง ทัพของพ่อขุนบางกลางหาวประสบชัยชนะ จึงเอาผ้าคาดเอวของพระองค์ผูกปลายผ้า ปักที่ยอดเขาช้างล้วง ไว้เป็นอนุสรณ์ที่มีชัยชนะแก่ศัตรู และพระองค์ได้สั่งลูกหลานทั้งหลายไปปักธงจุดชนะศึก เพื่อรำลึกถึงชัยชนะของพระองค์ทุกปี ถ้าปีใดไม่ขึ้นไปปักก็ขอให้มีอันเป็นไป 3. ผู้ปกครองนครไทย คิดระบบการส่งข่าวสาร เนื่องจากสมัยก่อน พวกฮ่อมักจะยกพวกมารังแกชาวนครไทย จึงมีข้อตกลงกันระหว่างแม่ทัพนายกองว่า เมื่อใดเห็นผ้าขาวม้า ชักขึ้นไปปักบนยอดเขาช้างล้วง ก็ให้เตรียมพลต่อสู้ศตรูเพื่อป้องกันบ้านเมือง จากคำบอกเล่าของประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้ทำการสัมภาษณ์ จะให้เหตุผลว่า การที่เขาไปปักธงก็เพื่อให้บ้านเมืองและชุมชนนครไทยมีความสงบสุขเป็นหลัก ดังที่ นางจำรัส ทองน้อย กล่าวว่า ในสมัยที่เป็นเด็กและเป็นสาวไม่มีพิธีบวงสรวงพ่อขุนบางอย่างในปัจจุบัน การกล่าวถึงพ่อขุนบางจึงไม่มี ชาวบ้านเรียกชื่อประเพณีนี้ว่า ประเพณีปักธง แต่ในปัจจุบันนี้ ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องวีรกรรมของวีรบุรุษคือ พ่อขุนบางกลางหาว จะได้รับความสนใจ และยอมรับในหมู่ชาวนครไทย มากกว่าเหตุผลอื่น เห็นได้จากการตั้งชื่อประเพณีนี้ในปัจจุบันอย่างเป็นทางการคือ ประเพณีปักธงชัย จะด้วยเหตุผลใดก็ตามชาวนครไทยไปปักธงบนยอดเขาช้างล้วงเป็นประเพณีจนถึงทุกวันนี้

  การนำธงไปปัก เมื่อทำการทอธงและตกแต่งพื้นธงเรียบร้อยแล้ว ในอดีตชาวบ้านจะมารวมกันที่วัด เช่น วัดเหนือหลังจากรวมกันเสร็จแล้ว ในบางปีชาวบ้านจะจัดขบวนแห่ธงไปตลาด โดยมีการสีซอ ตีฆ้อง ตีกลอง นำหน้าขบวน ชาวบ้านจะร่ายรำกันอย่างสนุกสนาน เมื่อแห่ธงเสร็จในตอนเย็นก่อนถึงวันปักธง จะมีการเจริญพระพุทธมนต์เย็น เพื่อฉลองธง เมื่อถึงตอนเช้า วัดแต่ละวัดจะมีการทำบุญตักบาตร ชาวบ้านจะเตรียมอาหารมาทำบุญตักบาตรที่วัดของตน ถ้าคนใดจะขึ้นไปปักธงก็จะจัดเตรียมอาหารสำหรับตนเองและไปเลี้ยงเพลพระบนเขาด้วย การเดินทางขึ้นเขาเพื่อไปปักธง ในสมัยก่อนจะเริ่มเดินทางหลังจากทำบุญและกินข้าวเสร็จ ชาวบ้านจะเตรียมแต่อาหารห่อขึ้นไป สำหรับน้ำจะไปเอาที่ถ้ำฉันเพล เนื่องจากคนที่ไปในสมัยก่อนมีจำนวนไม่มาก น้ำบริเวณบ่อหลังถ้ำฉันเพล จึงเพียงพอต่อการบริโภค 19 ผู้ที่เดินทางขึ้นเขาเพื่อไปปักธง จะประกอบด้วยพระสงฆ์ ตามวัดที่ชาวบ้านได้นิมนต์ไว้ หรือที่ท่านมีศรัทธาไปเอง โดยจะเดินทางเท้าผ่านทุ่งนาและป่าไปที่เขาช้างล้วง มีชาวบ้านหนองลาน หนองน้ำสร้าง บ้านบ่อไอ้จอก บ้านนาหัวเซและบ้านเนินเพิ่ม ซึ่งในสมัยก่อน หมู่บ้านหนองลาน จะทำธงไปปักด้วย โดยจะตกลงกับวัดเหนือ ถ้าปีใดหมู่บ้านหนองลานไม่ทำไปวัดเหนือก็จะทำ ซึ่งแล้วแต่จะตกลงกัน 20 แต่ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านวัดเหนือจะทำธงไป ในการเดินทางพระสงฆ์และชาวบ้าน จะเดินทางไปถึงยอดเขาอย่างช้าประมาณ 5 โมงเช้า เพราะพระจะต้องฉันอาหารเพลที่ถ้ำฉันเพลซึ่งมีลักษณะเป็นเพิงถ้ำรอด พื้นเป็นแผ่นหิน มีความกว้างไม่มากเท่าใดนัก พระสามารถนั่งได้ประมาณ 8 – 10 รูป เมื่อไปถึงชาวบ้านจะ โดยหมู่บ้านหนองลานไปร่วมปักธง ในการไปปักธงชาวบ้านจะเตรียมน้ำและอาหารติดตัวไป นอกจากนี้อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ มีด เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง ในการเดินทางชาวบ้านจะเดินทางเป็นกลุ่ม เป็นพวก ประกอบด้วย หนุ่มสาว และผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีกำลังสามารถจะเดินทางขึ้นเขาได้ โดยมีพระเป็นผู้นำ ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าอาวาสจากวัดเหนือ วัดกลาง และวัดหัวร้อง จากการสัมภาษณ์ พระครูพิพัฒน์ธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดเหนือ กล่าวว่า นับตั้งแต่บวชมาเป็นเวลา 39 พรรษา ท่านขึ้นเขา นำชาวบ้านไปปักธงทุกปี จนถึงประมาณปี พ.ศ.2537 ท่านเดินทางขึ้นเขาไม่ไหว เนื่องจากสุขภาพไม่เอื้ออำนวย จึงได้มอบหมายให้พระสงฆ์รูปอื่นไปขึ้นเขาแทน โดยท่านให้เหตุผลว่า ตลอดเวลา 30 กว่าปี ที่นำชาวบ้านขึ้นเขาเพราะต้องการไปปักธงตามประเพณี และพระมีบทบาทเป็นผู้นำชาวบ้าน นำธงไปปัก 21 การเดินทางในอดีต ชาวบ้านกล่าวว่ามีความลำบากมาก ไม่เหมือนกับสมัยนี้ ที่มีถนนไปถึงเชิงเขา ขณะที่เดินทางขึ้นเขาไปสู่ยอดเขาก็ไม่ลำบาก เพราะทางราชการและผู้นำหมู่บ้านได้ทำการถางป่าไว้ล่วงหน้าแล้ว ชาวบ้านไม่ต้องเกาะเถาวัลย์ขึ้นไปอีกแล้ว ทำให้สามารถเดินทางได้สะดวกสบายขึ้น ระยะเวลาในการเดินทาง จึงน้อยลงกว่าเดิมมากกว่าในสมัยก่อน เนื่องจาก ในอดีตเขาช้างล้วง เป็นเขาที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มาก ทำให้ชาวบ้านต้องใช้มีดฟันดัดต้นไม้ต่างๆ เพื่อให้สามารถที่จะเดินทางไปได้ นอกจากนั้นในการเดินทางต้องคอยระวังหนามไผ่ต่างๆ แต่สิ่งที่ดีคือ ในขณะที่เดินทางขึ้นเขา อากาศจะเย็นสบาย ในขณะที่ปัจจุบันนี้พื้นที่ป่าลดลง การเดินทางขึ้นเขาช้างล้วงอากาศจะร้อน ทำให้ผู้ที่ขึ้นไปเหนื่อยได้ง่าย จากการเดินทางที่ยากลำบาก ชาวนครไทยที่ไปปักธงในอดีต ส่วนใหญ่จึงจะเป็น ผู้สูงอายุ ที่มีครอบครัวแล้วและมีกำลังที่จะขึ้นได้ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นอกนั้นจะเป็นหนุ่มสาว แต่ผู้หญิงที่ไปจะมีน้อย และผู้ที่ไปในอดีตส่วนใหญ่จะไปเพียงครั้งเดียว เท่านั้น ในสมัยก่อนจะไม่ค่อยให้หนุ่มสาว หรือเด็กไป เพราะเกรงว่า ผีเรือเจ้าป่าเจ้าเขาอาจเกิดความพึงพอใจและอาจจะนำเขาไปอยู่ด้วย

ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ

๑.  เชื่อว่าการปักธงจะทำให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข กินดีอยู่ดี โดยมีความเชื่อว่าถ้าปีใดไม่ไปปักจะทำให้เกิดภัยพิบัติหรือเพทภัยต่างๆ ที่ทำให้ชาวบ้านเกิดความเดือดร้อนหรือเสียชีวิตได้ เนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น นาคราชจะมาล้างบ้านล้างเมือง , ยักษ์จะมากินคน  หรือช้างจะมากินข้าวที่ชาวบ้าน ทำการเพาะปลูก  จากคำบอกเล่า ของพระครูประพัฒน์ธรรมคุณ เจ้าคณะอำเภอนครไทย และเจ้าอาวาสวัดเหนือ ได้กล่าวว่า ชาวบ้านได้ติดตามช้างไป  พบว่ารอยเท้าช้างจะหายไปบริเวณเขาช้างล้วงทุกปี  เป็นต้น   ความเชื่อในเรื่องนี้เป็นที่ยอมรับและกล่าวถึงอยู่เสมอในหมู่ชาวนครไทย  เพราะชาวบ้านหยิบยกเรื่องราว ที่ปีหนึ่งชาวนครไทยไม่ได้ไปปักธง ในปีนั้นชาวบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านต่างๆ เสียชีวิตไปหลายคน ตั้งแต่บ้านวัดเหนือ จนถึงหัวร้อง ในช่วงเวลาเดียวกัน  ในปีนั้นชาวบ้านต้องขึ้นไปปักธงภายหลัง
 ๒.  ปักธงเพื่อระลึกถึงพ่อขุนบางกลางหาว เมื่ออพยพมาอยู่ที่เมืองนครไทย ( บางยาง ) ครั้งแรก  ได้เกิดการสู้รบกับพวกเจ้าของถิ่นเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ มีการต่อสู้รุกไล่กัน จนถึงเทือกเขาช้างล้วง ทัพของพ่อขุนบางกลางหาวประสบชัยชนะ จึงเอาผ้าคาดเอวของพระองค์ผูกปลายผ้า  ปักที่ยอดเขาช้างล้วง  ไว้เป็นอนุสรณ์ที่มีชัยชนะแก่ศัตรู และพระองค์ได้สั่งลูกหลานทั้งหลายไปปักธงจุดชนะศึก เพื่อรำลึกถึงชัยชนะของพระองค์ทุกปี  ถ้าปีใดไม่ขึ้นไปปักก็ขอให้มีอันเป็นไป
 ๓.  ผู้ปกครองนครไทย  คิดระบบการส่งข่าวสาร  เนื่องจากสมัยก่อน พวกฮ่อมักจะยกพวกมารังแกชาวนครไทย  จึงมีข้อตกลงกันระหว่างแม่ทัพนายกองว่า  เมื่อใดเห็นผ้าขาวม้า ชักขึ้นไปปักบนยอดเขาช้างล้วง ก็ให้เตรียมพลต่อสู้ศตรูเพื่อป้องกันบ้านเมือง 

            ช่วงเวลาการจัดงาน  วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี  

ที่มา : https://www.m-culture.go.th/phitsanulok/ewt_news.php?nid=165&filename=index